5 ข้อควรรู้ก่อนฉีดโบท๊อกซ์
โบท๊อกซ์ คืออะไร
โบทูลินั่ม ท็อกซิน (Botulinum toxin) คือโปรตีนที่ทำการสกัดจากแบคทีเรีย ชื่อ คลอสตริเดียม โบทูลินั่ม ( Clostridium botulinum ) ซึ่งแบคทีเรียชนิดนี้จะสร้างสารที่เป็นพิษที่เรียกว่า โบทูลิซึม ( Botulism ) ซึ่งมีพิษต่อมนุษย์ แต่ต่อมาได้มีการวิจัยและทดลองนำมาสกัด เพื่อให้ในการรักษาเรื่องของกล้ามเนื้อหดเกร็ง การชักกระตุกตา หรือตาเข และได้นำมาใช้ด้านความงาม เช่น การฉีดลดริ้วรอยตีนกา รอยขมวดคิ้ว หรือลดกราม ลดปีกจมูก ลิฟติ้งยกกระชับหน้า
ขั้นตอนการฉีดโบท็อกซ์ (botox)
-
แพทย์ตรวจสอบสภาพผิวและปัญหา ที่จะทำการฉีดโบท็อกซ์ และสอบถามความกังวลบริเวณจุดไหน เพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน รวมถึงแนะนำยี่ห้อผลิตภัณฑ์ในการฉีดว่าเป็นยี่ห้อใด
-
พนักงานทายาชาหรือใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่จะฉีดก่อน ลดความเจ็บหรือความกังวลลง
-
แพทย์ทำการฉีดโบท็อกซ์ โดยจะใช้เข็มขนาดเล็กมาก ฉีดสารโบท๊อกซ์ ในปริมาณพอเหมาะตามจุดที่มาร์คไว้ลงไปที่กล้ามเนื้อ เวลาในการฉีดจะประมาณ 10-15 นาที ขึ้นอยู่กับบริเวณและปริมาณที่ฉีด
-
พนักงานแนะนำการดูแลหลังทำ และนัดติดตามผล
การดูแลตัวเองหลังฉีดโบท็อกซ์(botox)
หลังจากฉีดโบท็อกซ์แล้ว แพทย์และพนักงานจะแนะนำวิธีการดูแลตัวเองต่างๆ ซึ่งไม่ยุ่งยาก ได้แก่
-
ไม่นอนราบในช่วง 3-4 ชั่วโมงแรกหลังจากฉีดโบท็อกซ์ เพราะโบท็อกซ์อาจไหลไปในบริเวณที่ไม่ต้องการ
-
ให้นอนหงายหนุนหมอนสูง ในคืนแรกของการรักษา
-
หลีกเลี่ยงความร้อนต่างๆ เช่น การเซาว์น่า ,เลเซอร์ความร้อนและงดนวดหน้า สปาหน้า บริเวณเพิ่งฉีดโบท็อกซ์มาเป็นเวลา 2 สัปดาห์
-
ไม่นวด กด บีบ คลึง บริเวณที่เพิ่งทำการฉีดโบท็อกซ์มา เป็นเวลา 6-8 ชั่วโมง เนื่องจากการทำให้ยากระจายไปออกฤทธิ์ยังบริเวณอื่นได้
-
อาจมีอาการบวมแดง หรือเขียวช้ำในช่วง 1-2 วันแรกหลังการฉีดโบท็อกซ์ (ซึ่งเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้เนื่องจากเข็มฉีดยา) ให้ใช้น้ำแข็งประคบได้
การดื้อโบท็อกซ์ หรือเคยฉีดแล้วไม่เห็นผล เกิดจากอะไรได้บ้าง
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “ดื้อโบท็อกซ์” มาก่อน ซึ่งอาการนี้หมายถึง การฉีดโบท็อกซ์แล้วไม่เห็นผลนั่นเอง
โดยมีสาเหตุเนื่องมาจากโปรตีนในสารโบท็อกซ์นั้นมีหลายชนิด ซึ่งเมื่อฉีดเข้าร่างกายไปแล้ว ร่างกายของผู้เข้ารับบริการบางรายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาเพื่อต่อต้านสารโปรตีนดังกล่าว ทำให้การออกฤทธิ์ของสารโบท็อกซ์ไม่เห็นผล ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการดื้อโบท็อกซ์ขึ้น ได้แก่
-
การใช้โบท็อกซ์ยูนิตที่สูงเกินไป มากเกินความจำเป็นก็สามารถทำให้ดื้อ โบท๊อกซ์ได้
-
การฉีดโบท็อกซ์ที่ถี่เกินไป บางคนไปฉีดทุกเดือน ซึ่งไม่ถูกต้องเพราะจะเป็นสาเหตุหลักๆเลยที่ทำให้เกิดการดื้อโบท๊อกซ์
-
การใช้โบท๊อกซ์ที่ไม่ได้มาตฐาน ยาหิ้วที่อาจจะรักษาความเย็นไม่ได้ หรือผลิตจากแหล่งที่มาไม่แน่นอน ก็ทำให้เกิดการดื้อโบท๊อกซ์หรือฉีดแล้วไม่เห็นผลได้
ดังนั้น ผู้เข้ารับบริการจึงควรฉีดโบท็อกซ์ควรฉีดในปริมาณที่เหมาะสม และควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 4-6 เดือนตามบริษัทกำหนด เพื่อลดความเสี่ยงการดื้อยา ซึ่งหากโบท๊อกซ์ที่เราใช้ผสมยาตามมาตฐานแล้ว สามารถอยู่ได้ 4-6 เดือน ยกเว้นมีการเจือจางโบท๊อกซ์ทำให้อยู่ได้ไม่นาน
การแก้ไขปัญหาเมื่อคนไข้เกิดอาการดื้อโบท็อกซ์ขึ้น
-
ให้เว้นระยะเวลาการฉีดออกไปก่อน เพื่อให้ร่างกายได้สลายสารสกัดโปรตีนออกให้หมด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ปีแล้วค่อยกลับมาฉีดใหม่
-
ใช้สาร โบท๊อกซ์ TYPE อื่น(ในปัจจุบันที่ใช้ส่วนมากจะเป็น TYPE A )อาจจะต้องเปลี่ยนเป็น type B แต่ราคาจะสูงและหาซื้อยาก
ทางที่ดีเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ผ่านอย และผสมยาตามมาตฐาน คลิกอ่านบทความ 7 ยี่ห้อโบท๊อกซ์ผ่านอยไทย https://bit.ly/31qHtCl
ข้อควรระวังและผลข้างเคียงที่อาจเกิดได้หลังฉีดโบท็อกซ์
โดยส่วนมาก การฉีดโบท็อกซ์มักไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายร้ายแรง หากฉีดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงมีการเว้นระยะการฉีดไปไม่ต่ำกว่า 4 เดือน แต่ก็มียกเว้นคนที่มีโรคประจำตัวหรือภาวะบางอย่างไม่ควรฉีดโบท๊อกซ์
-
ผู้มีความผิดปกติทางกล้ามเนื้อและระบบประสาท เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia gravis) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส (Amyotrophic Lateral Sclerosis: ALS) ไม่ควรฉีด โบท็อกซ์ เพราะอาจทำให้อาการแย่ของโรคลง
-
หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร แม้จะยังไม่มีรายงานเรื่องอันตราย แต่ก็ไม่มีข้อมูลเพียงพอรับรองว่าปลอดภัยเช่นกัน อีกทั้งในระหว่างการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรจะหลีกเลี่ยงสารเคมีที่อาจส่งผลต่อร่างกายไม่ว่าจะบริเวณไหนก็ตามให้มากที่สุด ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรจึงควรหลีกเลี่ยงการฉีดโบท็อกซ์ไปก่อน